เขียน SOP ให้โดนใจ มหาวิทยาลัยไหนก็อยากรับ
เทคนิคการเขียน SOP ให้โดนใจไม่ยาก หากรู้เคล็ดลับ 3 ข้อนี้
Statement of Purpose หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่า SOP เป็นเอกสารที่แสดงเจตจำนงของนักศึกษาในการสมัครเข้าเรียนต่อ มีความสำคัญมากสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังยื่นใบสมัครหรือมีแผนเรียนต่อในระดับชั้นปริญญาที่ต่างประเทศ เพราะว่ามหาวิทยาลัยมักจะไม่ได้ดูนักเรียนว่าเหมาะกับหลักสูตรจากแค่ผลการเรียนและผลภาษาเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วจะให้น้ำหนักกับประสบการณ์และทัศนคติเกี่ยวกับวิชานั้นๆ อีกด้วย
การเตรียม SOP ให้พร้อมก่อนการยื่นใบสมัคร ถือเป็นโอกาสเดียวที่มหาวิทยาลัยจะเปิดให้ผู้สมัครได้แสดงถึงความตั้งใจในการเรียนต่อ หลักการในการเขียน SOP นั้นไม่ยาก แต่จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนเพราะผู้สมัครต้องหาวิธีสื่อสารความเป็นตัวตนของผู้สมัครโดยผ่านการแชร์มุมมองหรือประสบการณ์และที่สำคัญคือ จะทำอย่างไรเพื่อให้ SOP ของผู้สมัครโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ในเพียงคำที่จำกัด (โดยประมาณ 1 ถึง 1.5 หน้ากระดาษ A4)
หลายคนๆ มักจะมีความกังวลว่า การเขียน SOP เป็นเรื่องยาก หรือไม่ก็กลัวว่าจะเขียนผิดๆ ถูกๆ แต่ IDP จะมาแชร์ว่าที่จริงแล้วมันไม่มีกฎที่ตายตัว เพราะว่า SOP นั้นมีจุดประสงค์ในการบ่งบอกตัวตน ความคิด และจุดเป้าหมายในการเรียนต่อของผู้สมัครให้คณะกรรมการคัดเลือกนักเรียน หรือที่เรียกกันในบ้านเราว่า Admission ได้ทราบ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นก็ขึ้นชื่อเรื่องของคุณภาพ และความเข้มงวดในเกณฑ์การคัดเลือกนักศึกษา เพราะฉะนั้นบทความที่สื่อได้โดนใจคณะกรรมการมักจะมีชัยไปกว่าครึ่ง! แต่ว่าการเขียน SOP นั้นจะมีทริคอะไรบ้าง…วันนี้ IDP ก็จะมาบอกเคล็ดลับในการเรียบเรียง SOP ให้ทุกคนได้ทราบกัน
SOP ที่โดน… จะมีการแบ่ง Paragraph (ย่อหน้า) ที่ชัดเจน
การย่อหน้า SOP ควรจะแบ่งเป็นสัดส่วนให้กระชับ ได้ใจความ โดยมีส่วนย่อหน้าดังนี้
- การแนะนำตัว
- ประวัติด้านการศึกษา
- ประวัติการทำงาน
- ผลงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครเรียน
SOP ที่โดนยิ่งกว่า… มีเนื้อหาที่ดี การสื่อสารมาก่อนแกรมม่า - สิ่งที่ผู้สมัครชาวไทยน่าจะมีความกังวลมากก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง แกรมม่า นั่นเอง แต่ว่าจริงๆแล้วคณะกรรมการส่วนใหญ่นั้นจะเห็นความสำคัญของเนื้อหาที่ถูกเล่าผ่านบทความมากกว่าสิ่งอื่นใด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถเขียนผิดแกรมม่าจนไม่มีใครอ่านรู้เรื่อง เพราะฉะนั้นก็ระมัดระวังหน่อยก็ดีนะ
SOP ที่โดนยิ่งกว่าโดน…คือการเขียนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัครเรียน
หลายผู้สมัครมักจะคิดว่าเขียนให้เยอะๆ เขียนให้บทความดูยาว แต่จริงๆแล้ว การเขียน SOP ให้ถูกใจคณะกรรมการนั้นควรจะสื่อในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เราสมัคร เช่น ประวัติด้านการทำงาน หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการวางแผนตลาด หากคุณได้ลงสมัครเรียนต่อในสาขาการตลาดหรือบริหารธุรกิจ
หากน้องๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรอกแบบฟอร์ม ขอรับคำปรึกษา หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนต่อกับพี่ๆ IDP ได้เลยนะคะ
อ่านบทความเรียนต่ออังกฤษ คลิก
10 สถานที่เที่ยวนอกเมืองลอนดอน
ขั้นตอนการไปเรียนต่อต่างประเทศ
ข้อดีของการเรียนต่อต่างประเทศ
ยื่นใบสมัครเรียนต่อต่างประเทศออนไลน์ ฟรี
รายชื่อสถาบันศึกษาในประเทศอังกฤษที่ IDP เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ
เริ่มต้นที่นี่
ลงทะเบียน หรือ ล็อกอิน เพียงคลิกเดียว
ดู shortlist ของคุณ หรือปิดหน้าต่างนี้เพื่อค้นหาต่อ